ข้อแนะนำสำหรับงานซ่อมพื้น

บ้านที่ตั้งอยู่บนดินไม่ได้ยกสูง (Slab on Ground) ไม่ว่าจะลงเสาเข็มหรือสร้างบนพื้นอัดแน่น ก็มีโอกาสที่น้ำจะซึมเข้ามาจากใต้ดินได้ ด้วยแรงดูดหรืออาจเกิดรอยร้าวเล็กๆ
1 รอยแตกร้าวเล็กๆ ให้สกัดรอยแตกแล้วซ่อมด้วยปูนซ่อมอเนกประสงค์ )จระเข้ Feather-Patch) ตามขอบมุมที่มีรอยแยก ให้เจียรให้ร่องกว้างประมาณ 5 มม. แล้วยาแนวด้วย Poly-Urethane (จระเข้ Poly-U Seal) ไม่แนะนำให้ใช้ซิลิโคนเพราะยึดติดคอนกรีตไม่ค่อยดี (ใช้กับกระจก, อลูมิเนียม)
2 กรณีปูพื้นกระเบื้อง หลังน้ำท่วมถ้าพื้นไม่เสียหายก็ทำความสะอาดให้เรียบร้อย ร่องยาแนวที่เป็นคราบอันเกิดจากความชื้นพาคราบหินปูนขึ้นมาตามร่องให้ขูดออกด้วยเครื่องขูดร่องยาแนว ก่อนยาแนวใหม่ด้วยยาแนวสูตรกันเชื้อรา
3 กรณีต้องเปลี่ยนกระเบื้องใหม่  ควรจะทำกันซึมไว้ให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันน้ำซึมขึ้นมาภายหลัง ให้ใช้ซีเมนต์ทากันซึมชนิดยืดหยุ่น ทาบนกระเบื้องโดยตรง ทา 2 ครั้งทิ้งไว้ให้แห้ง 2-3 วัน พื้นจะกลายสภาพเหมือนพื้นคอนกรีตทั่วไปที่กันน้ำ ก่อนปูกระเบื้องใหม่ทับด้วยด้วยปูนกาวจระเข้ หากบ้านยกสูงจากพื้นดินอยู่แล้วคงไม่มีโอกาสที่จะมีการดูดซึมน้ำขึ้นมาจากใต้ดิน ให้ใช้วิธีซ่อมแซมในข้อ 1-2 โดยไม่ต้องทากันซึม และหากต้องการปูกระเบื้องทับกระเบื้องเดิม แนะนำให้ใช้ปูนกาวจระเข้ทอง
4 พื้นเสีหาย ต้องการเทปูนเพื่อปรับระดับให้เรียบอีกหนึ่งปัญหาที่มักเกิดขึ้นคือ พื้นเสียหายไม่ได้ระดับ หากต้องการปรับพื้นใหม่ให้เรียบควรใช้ Acrylic Bondcrete น้ำยาประสารคอนกรีต ระหว่างคอนกรีตเก่า ให้ยึดเกาะกับคอนกรีตใหม่
5 รอยแตกเป็นเส้น รอยบิ่น หรือปัญหาที่พื้น สามารถใช้ Feather Patch ซีเมนต์ซ่อมแซมตกแต่งผิวบาง อุดรอยแตกเล็กๆ หรือฉาบบางๆได้

No comments:

Post a Comment